สาเหตุของข้อไหล่ติด เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ เกิดการอักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด

โรคไหล่ติด Frozen shoulder

สาเหตุของข้อไหล่ติด เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ เกิดการอักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด 

เกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ บวมและหนาตัวขึ้น โดยแบ่งระดับ อาการเป็น 3 ระยะ 1) เจ็บหรือปวดขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่ และปวดมากขึ้นเมื่อพยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แต่ยังไม่รู้สึกถึงภาวะข้อไหล่ติด โดยเฉพาะกลางคืน และเวลาล้มตัวลงนอน
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน..
  • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • พบมากในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • กางหรือยกแขนได้ไม่สุด ใช้มือเอื้อมหยิบของจากที่สูงลำบาก
  • เล่นกีฬา ออกกำลังกายในท่าที่ต้องใช้แขนและไหล่ลำบาก
  • ปวดไหล่ตอนกลางคืนขณะพลิกตัวเอียงตัว
  • หยิบของจากด้านหลังไม่ได้ มือไขว้หลังไม่ได้

 

3 ระยะของโรคไหล่ติด

โรคไหล่ติดสามารถแบ่งตามอาการได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะอักเสบ

จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณหัวไหล่แม้ไม่ได้ขยับใช้งาน โดยอาการจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น พิสัยการขยับของหัวไหล่ค่อยๆ ลดลง ระยะนี้เป็นได้นาน 6 สัปดาห์ถึง 9 เดือน

2. ระยะข้อยึด

อาการปวดแบบระยะแรกจะค่อยๆ ลดลง แต่อาการของไหล่ติดจะเป็นมากขึ้น พิสัยการขยับลดลงชัดเจน ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 4-9 เดือน

3. ระยะฟื้นตัว

อาการของไหล่ติดจะค่อยๆ ดีขึ้น พิสัยการขยับทำได้มากขึ้น ระยะนี้อาจใช้เวลานาน 6 เดือน ถึง 2 ปี

ขั้นตอนการรักษาโรคไหล่ติด

โรคนี้สามารถหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามหากไม่รีบรักษา จะทำให้กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ลีบลงได้  ดังนั้นหากเป็นข้อไหล่ติดระยะแรกที่ข้อไหล่ยังติดไม่มากนัก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรค และรักษาอาการปวดให้หายก่อน จากนั้นออกกำลังกายด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ  อาการไหล่ติดจะค่อยๆ หายไปเอง  ในกรณีที่ข้อไหล่ติดมีอาการเอ็นอักเสบร่วมด้วย ในปัจจุบันมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การทำ Shock Wave  การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น

1. กายภาพบำบัด โดยการดัดหัวไหล่ที่ติดเพื่อเพิ่มพิสัยการขยับให้มากขึ้น เนื่องจากอาการไหล่ติดเกิดจากเยื่อบุข้อไหล่หนาตัวและแข็ง การรักษาจึงต้องค่อยๆ ยืดเพื่อให้เยื่อบุนิ่มลงและยืดหยุ่นขึ้น แนะนำให้ทำกายภาพวันละ 8-10 ครั้ง จะทำให้สามารถขยับหัวไหล่ได้มากขึ้น อาการเจ็บจากไหล่ติดก็จะลดลง

2. ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ เป็นการฉีดยาในกลุ่มยาลดอักเสบหรือกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ ทำให้การอักเสบลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้การกายภาพบำบัดดัดหัวไหล่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ให้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกเจ็บบริเวณหัวไหล่ แพทย์จะให้ยาแก้ปวดและลดการอักเสบไปรับประทานเพื่อบรรเทา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ขั้นตอนข้อที่ 1, 2 และ 3 จะทำไปพร้อมกันในการตรวจดูอาการตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์จะนัดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ

4. การผ่าตัด จะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไหล่ติดอย่างมาก รักษาด้วยวิธีก่อนหน้าแล้วยังไม่ได้ผล จึงจะแนะนำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออก ทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้น และทำการดัดข้อไหล่ได้ง่ายขึ้น