
อาการปวดเข่า Knee Pain
เป็นอาการที่เกิดความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นทั้งสองข้าง โดยมักจะรู้สึกว่าไม่สามารถยืดเข่าได้อย่างเต็มที่ รู้สึกตึง ซึ่งอาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย และอาการปวดเข่ายังอาจนำไปสู่อาการอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคข้อเข่าเสื่อม ไขข้ออักเสบ ...
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน..
อาการปวดเข่า เกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุ มักเกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมจากการใช้งานยาวนานจนผิวข้อกร่อน เข่าผิดรูป โก่งงอ อีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากแรงกระทำที่มากเกินไปกับข้อเข่า เช่น การเล่นกีฬา หรือเคยรับอุบัติเหตุที่เข่าและในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก สามารถทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน
พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง
ภาวะเข่าเสื่อม อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก
- มีอาการปวดเข่าขณะเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นบันได และอาการจะดีขึ้นเมื่อพัก
- มีอาการขัดในข้อเข่า เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด
- มีเสียงดังในข้อ กล้ามเนื้อต้นขาลีบ
ปวดเข่าหลังจากเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเนื่องจากต้องใช้ข้อเข่ารับน้ำหนักมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน นักฟุตบอล นักบาส
- ปวดเสี่ยวแปลบที่เข่าบริเวณด้านในหรือด้านนอกเหนือหรือใต้ลูกสะบัก
- ปวดขัดชัดเจนหลังจากเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
ปวดเข่าจากการทำงาน ทำงานในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน
วิธีแก้อาการปวดเข่า
อาการเจ็บหัวเข่าหรือเจ็บเอ็นหลังเข่าในเบื้องต้นอาจสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยรักษาเอ็นเข่าอักเสบได้ หรือการลดน้ำหนักตัวเพื่อช่วยให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินไป นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือการยืนในท่าที่เหมาะสมก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมได้
อาการปวดหัวเข่าแบบไหนที่ต้องพบแพทย์
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวแล้วแต่ก็ยังมีอาการปวดข้อเข่าต่อเนื่องอยู่ แล้วหากยังมีอาการเหล่านี้อยู่ก็ควรเข้ารับการรักษาอาการปวดเข่าหรือทำกายภาพบําบัดข้อเข่าเสื่อมจากแพทย์เฉพาะทาง
- เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงจนทนไม่ได้ต้องได้รับการประเมินโดยด่วน
- มีอาการตัวร้อนและมีไข้ร่วมด้วย
- มีอาการเข่าบวมอักเสบ แดง หรือรู้สึกอุ่นร้อนบริเวณหัวเข่า
- รู้สึกว่าเข่าไม่สามารถรับน้ำหนักได้บ่งบอกถึงอาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นไขว้หน้าหรือหมอนรองกระดูกข้อเข่า
- รู้สึกเหมือนเข่าล็อค ไม่สามารถงอหรือยืดเหยียดได้สุด
- มีอาการปวดเข่าเรื้อรังเป็นระยะเวลานานควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนการกายภาพบำบัดเข่า
การทำกายภาพบำบัดเข่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระยะแรกและระยะกลาง สามารถรักษาเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด ช่วยลดความเจ็บปวด ชะลอและรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม เพิ่มความแข็งแรง ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เดิน ยืน หรือใช้บันไดได้ง่ายขึ้น โดยมีทั้งการทำกายภาพเอ็นเข่าอักเสบ กายภาพข้อเข่าเสื่อม กายภาพเพื่อแก้ข้อเข่าเสื่อมและกายภาพเข่าติด การทำกายภาพเข่าเพื่อรักษาอาการมักจะต้องทำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์อย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์
- ขั้นตอนในการรับการรักษาโดยกายภาพบําบัดหัวเข่ามีขั้นตอนดังนี้
- เริ่มต้นด้วยการประเมินอาการเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุ ทดสอบร่างกายบริเวณที่บาดเจ็บ
- หลังจากการประเมิน นักกายภาพบำบัดจะวางแผนในการรักษากายภาพแก้ปวดเข่าตามอาการเฉพาะของแต่ละบุคคล
- รักษาอาการบาดเจ็บและฟื้นฟูร่างกายโดยอาจมีการใช้เครื่องมือช่วย เช่น เครื่อง High Power Laser และ Ultrasound ร่วมกับโปรแกรมกายภาพปวดเข่า
- สำหรับผู้เข้ารับการกายภาพบำบัดเอ็นหัวเข่าอักเสบหรือกายภาพหลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าเข่าบางราย อาจจะต้องกลับบ้านไปออกกำลังกายด้วยท่ากายภาพหัวเข่าตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
- ติดตามประเมินความคืบหน้าของการทำกายภาพบําบัดหัวเข่าจนกว่าอาการจะหายดี
ผู้ที่ผ่าตัดหัวเข่าต้องทำกายภาพบำบัดหรือไม่
สำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาเพื่อแก้เข่าเสื่อมด้วยวิธีผ่าตัดก็ควรเข้ารับการรักษาด้วยการทำกายภาพบําบัดหลังผ่าตัดข้อเข่าหรือทำกายภาพหลังผ่าเอ็นไขว้หน้า จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากผ่าตัดหัวเข่าให้กลับมาใช้งานปกติได้ในเร็ววัน การทำกายภาพหลังผ่าตัดเข่าหรือกายภาพบำบัดเข่าเสื่อม ควรได้รับการดูแลและคำแนะนำในการรักษาข้อเข่าเสื่อมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสมตามอาการและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล