
ออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome
ปวด ตึง หรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น ต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก · อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย หรือปวดร้าวลงขาได้ · ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตาพร่ามัว หูอื้อ ปวดกระบอกตา · นอนไม่หลับ ...
มนุษย์วัยทำงานหลายคนอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” (office syndrome) ที่มีอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม การจ้องคอมนานๆ ทำงานท่าเดิมนาน หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย ‼ ซึ่งหากไม่บำบัดรักษาหรือป้องกันตั้งแต่ต้น อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังได้
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน..
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก เป็นอาการที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและเยื้อผังผืด ซึ่งเกิดจากการทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานทำให้มีจุดกดเจ็บ (Trigger point) ในเนื้อเยื่อ โดยจุดกดเจ็บนี้สามารถทำให้เกิดอาการปวดและตึงได้
พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง
- ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันเกิน 6 ชั่วโมง/วัน
- นั่งทำงานในท่าทางซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
- สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ระดับความสูงของโต๊ะ หรือลักษณะของเก้าอี้ที่นั่งทำงาน
- ท่าทางในการทำงาน เช่น ท่านั่งหลังค่อม ก้มหรือเงยหน้ามากจนเกินไป
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดสามรถรักษาได้ โดยอย่างแรกต้องตรวจร่างกายโดยนักกายภาพร่วมกับการวางแผนการรักษา เพื่อเป็นการมองหาอาการบาดเจ็บปวดว่าเกิดจากสาเหตุใด โครงสร้างใดที่มีปัญหา และจะต้องได้รับการรักษาอย่างไรบ้างรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการรักษา
เครื่องมือที่ใช้ในการรักษา
-
คลื่นเหนือเสียง
ใช้ในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้กลับไปเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบของกล้ามเนื้อเละเส้นเอ็น
-
เลเซอร์
ใช้ในการลดอาการปวดบริเวณจุดกดเจ็บ หรือการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและรักษาแผลกดทับ อีกทั้งยังสามารถเร่งกระบวนการรักษาตัวเองจากแผลหลังการผ่าตัด หรือแผลเปิด
-
เครื่องดึงคอ ดึงหลัง
ใช้ในการลดอาการปวดอันเนื่องมาจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่วนการดัดดึงข้อต่อโดยนักกายภาพนั้นจะทำการขยับข้อต่อคลายเนื้อเนื้อหรือคลายกล้ามเนื้อ โดยการรักษาจะแตกต่างไปตามอาการ
-
เครื่องกระตุ้นไฟ
ใช้ในการลดอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือใช้ในการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่มีอาการอ่อนแรง
-
ประคบร้อน/เย็น
ใช้เพื่อลดอาการปวด อักเสบของกล้ามเนื้อหรือข้อต่อที่มีการอักเสบระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
-
การออกกำลังกายท่าเฉพาะ
นอกจากการใช้เครื่องมือทางกายภาพและการรักษาโดยกายภาพบำบัดแล้ว การทำให้อาการบาดเจ็บที่เป็นอยู่ไม่กลับมาเป็นซ้ำ นั่นคือการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามที่นักกายภาพแนะนำ และสามารถนำกลับไปทำเองที่บ้านได้
วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูคนไข้ที่มีความผิดปกติด้านโรคระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ทั้งยังช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้กลับมามีชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
สำหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะประเมินว่ากล้ามเนื้อที่มีอาการปวดนั้นเป็นกล้ามเนื้อมัดไหน และจะวางแผนการรักษาแบบใด อย่างเช่น
- การรักษาทางกายภาพบำบัด จะใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดหลายอย่าง เช่น อัลตร้าซาวนด์ ซึ่งเป็นความร้อนลึก, เลเซอร์ที่มีความแรงสูง ช่วยให้รักษาระดับลึกและมีประสิทธิภาพดีขึ้น และการใช้ Shockwave (คลื่นกระแทก) ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่จะเลือกเครื่องมือทำกายภาพบำบัดให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
- การฝังเข็ม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะมีเครื่องมือในการรักษาหลากหลาย เช่นการฝังเข็มแบบตะวันตก ซึ่งเป็นการฝังเข็มเฉพาะที่เพื่อลดอาการปวด
- จ่ายยาเพื่อรักษา หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะจ่ายยาหลายกลุ่มทั้งยาที่ลดอาการปวด หรือในบางคนที่มีอาการปวดเรื้อรังก็อาจต้องใช้ยากลุ่มอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งเป็นการจ่ายยาตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
สำหรับใครที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เนื่องจากออฟฟิศซินโดรม และได้ลองรักษาทั้งทานยา กายภาพบำบัด ออกกำลังกาย รวมทั้งเปลี่ยนท่าทางแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรจะรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดเรื้อรัง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าอาการออฟฟิศซินโดรมแม้จะดูไม่ใช่อาการบาดเจ็บที่หนักหนาในช่วงเริ่มต้น แต่ถ้าหากละเลย ทั้งยังปล่อยให้ร่างกายทำงานตามความเคยชินเดิมๆ อาการบาดเจ็บนั้นก็อาจจะนำไปสู่โรคร้ายแรง และทำให้การรักษายากขึ้นได้