นิ้วล็อค (Trigger Finger)

นิ้วล็อค Trigger Finger

การที่ข้อนิ้วมีอาการปวด หรือนิ้วล็อค อยู่ในท่างอเหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวข้อนิ้ว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน ...

ภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน..

นิ้วล็อค (Trigger Finger) หมายถึง การที่ข้อนิ้วมีอาการปวด หรือนิ้วล็อค อยู่ในท่างอเหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวข้อนิ้ว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

อาการนิ้วล็อค

เกิดจากการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อยู่ตรงกับกระดูกฝ่ามือ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบและการตีบแคบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นทำให้เคลื่อนไหวข้อนิ้วลำบาก

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

มีอาการปวดข้อนิ้ว งอหรือเหยียดนิ้วได้ไม่สุด เหยียดนิ้วต้องใช้มืออีกข้างนึงช่วย

  • พิมพ์งานนานๆ
  • หิ้วหรือถือของหนักเกินไป
  • ทำงานบ้านหรือทำอาหาร ถืออุปกรณ์ทำครัวเป็นประจำ
  • เล่นกีฬาหักโหมเกินไป เช่น แบดมินตัน เทนนิส
  • ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ

อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ  

1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด 

2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้ 

3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง 

4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วติดอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถึงแม้ว่าจะให้มืออีกข้างนึงมาช่วยเหยียดก็ตาม

การรักษาทางกายภาพบำบัด

1.การใช้อุปกรณ์ดามนิ้วมือ (Trigger Finger splints)
2.การนวดเบา ๆ บริเวณที่มีอาการ (Massage)
3.การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเช่น คลื่นเหนือเสียง (Utrasound Therapy) การใช้ความร้อนประคบและพาราฟิน (Paraffin wax) เป็นต้น
4.การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise)

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

  1. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  2. ควร ใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
  3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
  4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
  5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบา ๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง